วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

ปลาสวยงามในประเทศไทย

         ประวัติปลาสายงาม
         ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานหลงเหลือให้เห็นว่ามนุษย์เริ่มรู้จักการนำปลาสวยงามมา เลี้ยงในที่เลี้ยงตั้งแต่เมื่อไรตั้งแต่ครั้งแรก แต่เป็นเชื่อแน่ว่ามนุษย์รู้จักวิธีที่จะเก็บรักษาเนื้อปลาไว้เป็นอาหารในมื้อต่อๆไป ในหลายรูปแบบ เช่น ย่าง รมควัน หมัก เกลือ ฯลฯ นานก่อนจะเรียนรู้วิธีเลี้ยงปลาอย่างแน่นอน และสิ่งหนึ่งที่น่าแปลกใจก็คือ มนุษย์รู้จักการเลี้ยงปลาและฝึกเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ก่อนที่จะมาสนใจถึงการเลี้ยงปลา เช่น เช่นสุนัขที่ถูกมนุษย์จับมาเลี้ยงและฝึกให้เชื่องได้มีหลักฐานอย่างแน่ชัด ว่าได้ ดำเนินติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหมื่นปีหรือแม้แต่แพะถูกเลี้ยงมาไม่น้อยกว่าเจ็ดพัน ปีทีเดียว บางทีอาจเป็นไปได้มากกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการเลี้ยงปลาอย่าง เช่น บ่อ เป็นต้น ไม่หลงเหลือหลักฐานมาถึงปัจจุบันบ่อที่เก่า ที่สุดเท่าที่นักโบราณคดีค้นพบคือ บ่อในยุคสุเมเรีย ซึ่งมีอายุประมาณ 4,500 ปีแล้ว ส่วนใหญ่แล้วบ่อในยุคนี้เท่าที่ค้นพบจะแย่ในศาสนาสถานและคาดว่าจะเกี่ยวข้อง กับพิธีกรรมทางศาสนาของยุคนั้น แต่อย่างไรก็ดียังมีการค้นพบบ่อซึ่งคาดว่าเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและมีหลักฐานว่าที่ใช้เป็นที่เก็บกักขังปลา เพื่อใช้เป็นอาหารอย่างแน่นอน และจากสภาพของบ่อที่ปรากฏให้เห็นก็มิใช่บ่อเลี้ยงหรือ บ่อสำหรับ เพาะพันธุ์ปลา
        การค้นพบทางโบราณคดียังชี้ลงไปอีกว่าชาวอัสซีเรีย ก็มีบ่อสำหรับกักตุน ปลาเป็นอาหารสด เช่นเดี่ยวกัน และคาดว่าชาวบาลิโลนก็คงจะมีบ่อในทำนองเดียวกันนี้อีก ส่วนชาวอียิปต์โบราณเมื่อสามพันปีมาแล้ว มีบ่อสำหรับตกปลาเป็น อาหารนอกเหนือจากบ่อเลี้ยงปลา ปลาที่ชาวอียิปต์เลี้ยงในยุคนั้นคือปลาไน ปลาในสกุล ทีลาเปีย (สกุลปลานิล) และหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ก็มีคันเบ็ดที่ใช้ตกปลานั่นเอง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าการเลี้ยง ปลาในยุคนั้นเป็นไปเพื่อการยังชีพ

           วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม

 

การจัดตู้ปลา
          เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกที่ดีต่อธรรมชาติเป็นการแสดงรสนิยมด้านศิลปะที่เชื่อมโยงกับความงามของธรรมชาติที่สามารถสัมผัสได้และช่วยให้จิตใจสดชื่นอารมณ์ร่าเริง แจ่มใสศิลปะต่างรูปแบบในการจัดตู้ปลาย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความงามของธรรมชาติที่ไม่สามารถบรรยายได้และมีอยู่จริง ซึ่งเปรียบเสมือนการสะท้อนภาพความงามจากธรรมชาติจำลองมาไว้ในตู้ปลา อีกทั้งยังเป็นการฝึกสภาพจิตใจของผู้เลี้ยงปลามือใหม่ ให้เกิดความรู้สึกที่ดีงามต่อธรรมชาติ
ประโยชน์ของการจัดตู้ปลา
            ปัจจุบันการจัดตู้ปลาได้รับความนิยมสูงมาก เพราะนอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้เลี้ยงแล้ว ยังให้ความสุขและความสวยงามแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วย กำจัดยุง ซึ่งเป็นพาหะในการนำเชื้อ โรคร้ายมาสู่มนุษย์ เพราะปลาตู้ส่วนมากจะชอบกินลูกน้ำมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ และไม่ทำให้น้ำในตู้ปลาขุ่นเหมือนอาหารชนิดอื่นๆ อีกด้วย ในการจัดตู้ปลานี้ นอกจากจะจัดกันภายในบ้านแล้ว ยังมีการจัดตู้ปลากันในสถานศึกษา หรือหน้าร้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาสภาพจิตใจและร่างกายของมนุษย์ในสังคมให้ดีขึ้นซึ่งพอจะจัดแยกประโยชน์ของการจัดตู้ปลาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. ช่วยให้พื้นที่และภายในตัวอาคารบ้านเรือนสวยงาม สดชื่น น่าอยู่อาศัย
2. ช่วยในการพัฒนา สภาพจิตใจของผู้จัด หรือผู้พบเห็น ให้เกิดความรู้สึกสดชื่น
3. เพื่อเป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยจะต้องทราบถึงวิธีปฏิบัติว่าควรมีความหนาแน่นของปลาต่อขนาดของตู้ปลา เท่าใด ควรมีน้ำมากน้อยเพียงใดควรให้อาหารชนิดใดจึงจะเหมาะสม
4. สร้างความอบอุ่นให้แก่ครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ และลูก จะต้องมีเวลาใกล้ชิดกัน ช่วยกันตกแต่งตู้ปลา ดูแลพันธุ์ไม้น้ำ
5. ฝึกสร้างนิสัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารี รู้จักชีวิตธรรมชาติที่ดี
6. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
7. สามารถพัฒนาการจัดตู้ปลา เป็นการประกอบอาชีพเสริมได้สิ่งที่ควรรู้ในการเลี้ยงปลาตู้
          1. ธรรมชาติของปลาที่ต้องนำมาเลี้ยงในตู้ปลาแต่ละชนิด จะมีลักษณะธรรมชาติ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากเราจะเลี้ยงปลาชนิด ใดเราควรศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของปลาชนิดนั้นพอสมควร เพื่อนำมาปรับกับส่วนอื่น ๆ ที่จะต้องจัดให้สอดคล้องกับธรรมชาติของปลาชนิดนั้นๆ ภายในตู้ปลา
           2. การจัดหรือเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำปลาตู้ ซึ่งอาจจะประกอบขึ้นเอง แบบง่าย ๆ โดยการใช้วัสดุราคาไม่แพงนัก หรืออาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าประเภทเลี้ยงปลาตู้ที่มีอยู่ทั่วไป แต่ทั้งนี้จะต้องเลือกตู้ที่เหมาะสมกับชนิดของปลาที่จะเลี้ยง และความต้องการที่จะจัดตกแต่งเพื่อความสวยงาม เป็นต้น
           3. สิ่งที่ควรคำนึงถึงเบื้องต้น ในการเลี้ยงปลาตู้ทั่ว ๆ ไป มีดังนี้
                            3.1 ให้มีเนื้อที่หน้าน้ำที่กว้าง ๆ โดยไม่มีอะไรลอยปกปิดอยู่
                            3.2 ให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ
                            3.3 ให้น้ำในตู้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ตามลักษณะธรรมชาติของปลาที่จะเลี้ยง
                            3.4 ให้ใช้น้ำสะอาดเท่านั้น
                            3.5 ให้อาหารที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ปลา
  
องค์ประกอบของการจัดตู้ปลา


           ตู้ปลา เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการจัดตู้ปลามีหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไปสามารถเลือกแบบให้เหมาะสมกับสถานที่ ที่จะตั้งตู้ปลา รูปแบบของตู้ปลาที่นิยมใช้กันอยู่จะมี 2 รูปแบบ คือ
1. แบบทรงกลม นิยมใช้ตั้งตามห้องรับแขก โต๊ะทำงาน ตู้เก็บเอกสาร หรือบริเวณที่มีพื้นที่ที่ไม่กว้างนักมาขนาดไม่ใหญ่มากนักสามารถมองเป็นทัศนียภาพภายในได้อย่างทั่วถึงเพราะเป็นวงกลม แต่เนื่องจากมีขนาดเล็ก จึงไม่สามารถจัดหรือตกแต่งให้สวยงามมาก ๆ ได้
2. แบบเหลี่ยม เป็นตู้ปลาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีหลายขนาด หาซื้อได้ง่ายเป็นตู้ปลาที่มีขนาดพื้นที่กว้างขวางกว่าแบบแรก อีกทั้งยังสามารถจัด หรือประดับพันธุ์ไม้น้ำ หิน ลงไปในตู้ปลาได้อย่างสวยงามอีกด้วย ตู้ปลาแบบนี้ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
                ตู้ปลาแบบมีกรอบ  ตู้ปลาประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นตู้รุ่นเก่าจะมีกรอบอะลูมิเนียม และมีชันอุดกันรั่วซึม
                ตู้ปลาแบบไม่มีกรอบ เป็นตู้ปลารุ่นใหม่ ใช้กระจกมาต่อกันโดยใช้กาวซิลิโคนเป็นตัวยึดกระจกให้ติดกัน เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาตู้ เพราะสามารถมอง เห็นทัศนียภาพภายในตู้ปลาได้อย่างทั่วถึงไม่เหมือนแบบมีกรอบซึ่งจะบังส่วนที่ตกแต่งไปบ้าง แต่ก็มีส่วนเสีย คือ โครงสร้างจะไม่แข็งแรงเท่ากับตู้ปลาแบบมีกรอบ
ขนาดของตู้ปลา
     
การเลี้ยงปลาตู้
            ในการทำตู้ปลา สิ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ขารองรับตู้ปลา ซึ่งขารองรับตู้ปลาจะต้องแข็งแรง เพื่อรองรับน้ำหนักของตู้ปลาให้มั่นคงไม่คลอนแคลน เมื่อได้บรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดตู้ปลา ดังนั้น การพิจารณาว่า ขอรองรับน้ำหนักพอดีหรือไม่ จะต้องคำนวณน้ำหนักน้ำในตู้ปลาได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่า
การคำนวณปริมาณน้ำในตู้ปลา   ปริมาณน้ำ (ลิตร) = (หน่วยเป็นเซนติเมตร)
             ตัวอย่าง ถ้าตู้ปลามีขนาด กว้าง x ยาว x สูง เท่า 36x 24 x 24 เซนติเมตร ประมาณน้ำ (ลิตร)  = 20.73   ปริมาณน้ำของตู้ปลาดังกล่าวจุน้ำประมาณ 20 ลิตร
            นอกจากขารองรับตู้ปลาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรขาดก็คือ ฝาปิดตู้ปลาซึ่งจะทำจากวัสดุใดก็ได้แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำด้วยพลาสติก เพื่อช่วยป้องกันฝุ่นละออกจากภายนอก ควบคุมการระเหยของน้ำ และป้องกันอันตรายจากศัตรูต่างๆ ที่จะมารบกวน รวมทั้งป้องกันไม่ให้ปลากระโดดออกจากตู้ปลาได้


เครื่องปั๊มอากาศ

การใช้เครื่อง
          1. ควรติดตั้งเครื่องปั๊มอากาศให้สูงกว่าตู้ปลา เพื่อให้เครื่องทำงานได้สะดวกในการดังอากาศ
          2. ควรติดตั้งเครื่องปั๊มอากาศให้ห่างจากบริเวณที่มีฝุ่นละออง เพราะฝุ่นละออง อาจทำให้ทางเดินอากาศอุดตัน และเสียหายได้
          3. กรณีเครื่องปั๊มอากาศที่ใช้ร่วมกับแบบกรองน้ำใต้ทราย และแบบกรองน้ำนอกตู้ ผู้จัดควรเปิดเครื่องปั๊มอากาศให้ทำงานตลอดเวลา อุปกรณ์ที่มากับเครื่องปั๊มอากาศ
          1. สายออกซิเจนเป็นท่อยางสีขาวใสทำหน้าที่นำอากาศจากเครื่องปั๊มเข้าสู่ตู้ปลา
          2. หัวทราย มีลักษณะกลมเป็นรูพรุน ทำหน้าที่จ่ายอากาศให้กระจายเข้ากับน้ำ หัวทรายที่ดีควรพ่นอากาศให้เป็นฝอย และละเอียดมากที่สุดและควรมีน้ำหนัก เพื่อถ่องให้สายยางลอย
          3.
ข้อต่อ เป็นตัวแยกอากาศจากเครื่องปั๊มไปตามทิศทางที่เราต้องการซึ่งมีส่วนแยกเป็น 2 ทาง 3 ทาง หรือ 4 ทาง
          4. วาล์วควรคุมหรือลูกบิด ทำหน้าที่ควรคุมปริมาณอากาศที่ถูกเป่าออกมาจากเครื่องปั๊มให้แรงดันอากาศมากน้อยตามควรเหมาะสม ระบบการกรองน้ำ
ระบบการกรองน้ำ
           นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการจัดตู้ปลาเนื่องจากเครื่องกรองสามารถดูดสิ่งสกปรกที่ไม่ต้องการ เช่น เศษอาหาร เศษใบไม้ภายในตู้ออกเพื่อช่วยให้สภาพของน้ำใสสะอาด ลดการเน่าเสียของน้ำภายในตู้ให้น้อยลง ระบบการกรองน้ำที่นิยมในการจัดตู้ปลา มี 2 แบบ คือ
                    1. ระบบการกรองน้ำใต้ทราย ซึ่งมีขายเป็นชุดสำเร็จรูปตามร้านขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาสวยงามทั่วไป หลักการทำงานของระบบการกรองน้ำใต้ทราย ก็คือเครื่องปั๊มอากาศจะอัดอากาศส่งไปตามสายอากาศที่เชื่อมระหว่างเครื่องปั๊มอากาศกับหัวครอบแผ่นกรองใต้ทราย เมื่ออากาศถูกดันออกมาตามท่อส่งน้ำ ก็จะดันน้ำที่อยู่ภายในท่อส่งน้ำให้พุ่งออกมาพร้อมกับอากาศ ซึ่งน้ำที่ถูกพ่อนออกมาจะไหลเวียนกับเข้าไปอยู่ใต้แผ่นกรอง ขณะเดียวกันน้ำที่อยู่เหนือแผ่นกรองก็จะถูกดูดลงไปแทนที่ พวกสิ่งสกปรกและเศษอาหารจะถูกดูดลงไปติดกับชั้นกรวดทราย จึงทำให้น้ำในตู้ปลาใสสะอาดอยู่เสมอ
                    2. ระบบการกรองน้ำแบบกล่องในตู้ ระบบการกรองน้ำแบบนี้ไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก เพราะต้องติดตั้งกล่องกรองลงในตู้ปลาทำให้เสียพื้นที่และเกะกะ อีกทั้งยังทำให้ทัศนียภาพภายในตู้ปลาไม่สวยงามเท่าที่ควร ระบบการกรองน้ำแบบนี้คล้ายกับการกรองน้ำใต้ทราย ต่างกันที่แบบนี้จะมีกล่องกรองแยกต่างหาก ภายในกล่องกรองจะมีใยแก้ว และถ่านคาร์บอน ซึ่งสามารถกรองสิ่งสกปรก และกรองกลิ่นของน้ำเสียภายในตู้ปลาได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถถอดออกล้างได้สะดวกอีกด้วย
พันธุ์ไม้น้ำ



วิธีการจัดพันธุ์ไม้น้ำ
            พันธุ์ไม้น้ำที่นำมาจัดตู้ปลา ควรคำนึงถึงลักษณะพันธุ์ที่เหมาะสม เช่น รูปร่างของใบ การเจริญเติบโต อัตราความต้องการแสงสว่าง เป็นต้น
   
พันธุ์ไม้น้ำที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ปลา คือ
     1. ช่วยดูดเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และส่วนที่เป็นของเสีย ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
     2. เสริมสร้างแหล่งอาหารให้แก่ปลาที่กิจพืชบางชนิด รวมทั้งเป็นที่เพาะฟักไข่
     3. ช่วยปรับสภาพปริมาณเกลือในน้ำให้เหมาะแก่การดำรงชีวิตและไม่เป็นอันตรายแก่ปลา
     4. เป็นที่หลบซ่อนและให้ร่มเงา

    1. ควรจัดพันธุ์ไม้น้ำที่มีลักษณะธรรมชาติ การเจริญเติบโตเหมือนกัน
    2. ควรจัดให้พันธุ์ไม้น้ำทรงเตี้ยอยู่ด้านหน้า ส่วนทรงสูงอยู่ด้านหลัง
    3. ควรจัดเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม เพื่อเน้นถึงธรรมชาติ
    4. ควรจัดให้มีหิน ตอไม้ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบเข้าด้วยกันเพื่อความสวยงาม
หิน
                สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำธาร ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือชอบหลบซ่อนตามโขดหินใช้เป็นที่กำบังป้องกันอันตรายจากศัตรูเป็นที่ผสมพันธุ์ และขยายพันธุ์ลูกหลานต่อไปอีกด้วย ดังนั้นการจัดหินในตู้ปลาควรคำนึงถึงความสะอาด คุณภาพของหิน รูปแบบ และสีสันตามธรรมชาติ
หลักพิจารณาในการใช้หิน
      1. ไม่ควรใช้หินที่มีรูปทรงแหลมคม เพราะอาจทำให้ปลาบาดเจ็บจากความคมของหินได้
      2. หินที่นำมาจัดตู้ปลา ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย
      3. ไม่ควรนำหินปะการังมาจัดตู้ปลาเพราะปะการังมีธาตุเกลือ จะทำให้น้ำในตู้มีฤทธิ์เป็นด่าง
กรวด
                เป็นวัสดุที่ใช้ตกแต่งตู้ปลาให้ดูเป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้ว นักจัดตู้ปลานิยมใช้กรวดดำ โดยเลือกขนาดที่พอดี ไม่ละเอียดและหยาบเกินไป กรวดที่ใช้ปูพื้นควรจัดให้สูงกว่าแผ่นกรองประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อป้องกันมิให้รากไม้น้ำชอนไชไปถึงแผ่นกรอง หากไม่ต้องการปูพื้นกรวดให้สูงตามที่กำหนด เพราะกลัวว่าไม่สวยเหมือนธรรมชาติ ก็อาจใช้กระถางพลาสติกขนาดเล็ก ๆ ปลูกไม้น้ำ เพื่อกำจัดพื้นที่มิให้รากของพืชไม้น้ำชอนไชไปได้ แล้วปูด้วยกรวดจัดตกแต่งให้ดีก็ได้
น้ำ
                น้ำมีความสำคัญต่อชีวิตปลา ถ้าหากสภาพของน้ำเกิดอาการเน่าเสีย จะทำให้ปลาและพันธุ์ไม้น้ำตายได้ สำหรับน้ำที่เหมาะสมและสะดวกที่สุดในการจัดตู้ปลาก็คือ น้ำประปา เพราะผ่านกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อโรคมาแล้ว แต่ไม่ควรใช้ใส่ในตู้ปลาเลย เราควรรองน้ำประปามาตั้งพักทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงนำไปใส่ตู้ปลา
เปลือกหอย
                สิ่งที่นักจัดตู้ปลานิยมนำมาจัดตู้ปลา เพื่อให้ตู้ปลามีความคล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุดก็คือเปลือกหอย ซึ่งสามารถใช้เปลือกหอยทั้งขนาดเล็กและใหญ่มาจัดตู้ปลาได้ตามความเหมาะสมของตู้หรือของพื้นที่ที่เราจะจัดเปลือกหอยที่นำมาจุดส่วนใหญ่จะเป็นเปลือกหอยที่ได้มาจากทะเล จึงมีความเค็มและมีทรายติดอยู่ ควรนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ความเค็มและทรายที่ติดอยู่ออกมาให้หมดเสียก่อนจึงนำไปประดับในตู้ปลาได้
สิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ
                แผ่นภาพวิว เปรียบเสมือนฉากที่นำไปติดข้างตู้กระจก ส่วนมากจะเป็นภาพวิวจากทะเลซึ่งมีกรวด หินปะการัง หรือพันธุ์ไม้น้ำ เป็นทิวทัศน์ใต้พื้นน้ำที่สวยงาม
                หุ่นพลาสติก ปัจจุบันมีการผลิตสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ทำด้วยพลาสติกมากมายเลียนแบบของจริง สามารถนำมาจัดตู้ปลาได้ตามความต้องการ

 หลักการจัดตู้ปลา

       หลักและวิธีการจัดตู้ปลา
หลักการจัดตู้ปลา
                หลักการจัดตู้ปลาเป็นการจัดสภาพที่อยู่อาศัยของปลาเลียนแบบธรรมชาติภายในตู้ปลา ซึ่งมีพื้นที่จำกัด และเพื่อให้เกิดความสวยงาม ในการจัดตู้ปลานั้น ควรคำนึงถึงพื้นฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                1. ความกลมกลืน หมายถึง การจัดวัสดุอุปกรณ์ให้เกิดความกลมกลืน เช่น ของที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันทั้งทางด้านขนาด รูปร่าง สีสัน ผิวพรรณและทิศทาง ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
         ความกลมกลืนทางพฤกษศาสตร์ คือ ความกลมกลืนของพันธุ์ไม้ที่นำมาจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
         ความกลมกลืนทางวัตถุ เช่น หิน กรวด ที่ใช้ประดับตกแต่งตู้ปลาควรเลือกลักษณะผิว และสีสันที่คล้ายคลึงกัน เมื่อนำมาจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วย่อมจะมีความกลมกลืนซึ่งกันและกัน
              2. จุดเด่น ไม่ว่าจะเป็นหิน พันธุ์ไม้น้ำ เปลือกหอย กรวด หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ควรคำนวณการจัดตำแหน่งให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดจุดเด่นเป็นจุดสนใจสำหรับผู้พบเห็น
             3. จุดเน้น คือ การเน้นจุดใดจุดหนึ่ง ภายในตู้ปลาเป็นกรณีพิเศษ เช่น การจัดตู้ปลาโดยการรองพื้นด้วยกรวดก็จะดูเป็นธรรมดาแต่อาจนำสิ่งประดิษฐ์ไปวางเพื่อแสดงความสำคัญของจุดนั้น
             4. ความสมดุล มีความสำคัญในการจัดตู้ปลามาก เพราะการจัดตู้ปลาแต่ละครั้ง การวางหิน การปลูกพันธุ์ไม้น้ำ หรือการวางสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ควรวางให้เกิดความสมดุล เช่น การจัดพันธุ์ไม้น้ำเป็นฉากด้านหลังตู้ ก็ไม่ควรเน้นหนักด้านใดด้านเดียว ควรหาหิน หรือสิ่งประดิษฐ์มาจัดไว้หน้าตู้เพื่อให้เกิดความสมดาลจึงจะเหมาะสม

                จึงจำเป็นต้องเลือกตู้ปลาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงปลา เช่น การเลี้ยง ปลาตู้ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หรือเป็นการประกอบอาชีพ หรือเพื่อเป็นการตกแต่งบ้าน หรือสำนักงาน นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงจำนวนปลาที่จะเลี้ยงด้วย ตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่ย่อมดีกว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก เพราะอุณหภูมิภายในตู้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก
 วิธีการจัดตู้ปลา
    
            เมื่อมีความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตู้ปลาแล้ว ย่อมจะทำให้การจัดตู้ปลานั้นสำเร็จรวดเร็วขึ้น ซึ่งวิธีการจัดตู้ปลาแต่ละครั้งจะสวยงามตามแบบธรรมชาติหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้จัด แต่จะต้องคำนึงถึงวิธีการต่าง ๆ ในการจัดตู้ปลา ดังนี้
             1. การออกแบบในการจัดตู้ปลา ต้องคำนึงถึงความสมดุลของทัศนียภาพภายในตู้ปลา เลือกสถานที่สำหรับจัดวางตู้ปลาได้สัดส่วน และเหมาะสม โดยที่บริเวณนั้นต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก และรับแสงแดดจากธรรมชาติบ้าง ส่วนฐานรองรับน้ำหนักตู้ปลา เมื่อประกอบเข้าด้วยกันต้องเรียบสนิทไม่คลอนแคลน เพราะเมื่อเติมน้ำลงไปในตู้ปลา น้ำหนักตู้ปลาจะเพิ่มมากขึ้น ถ้าพื้นที่วางตู้ปลาไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดแรงกดดันของน้ำ ซึ่งอาจทำให้ตู้ปลาแตกได้
             2. การประกอบชุดแผ่นกรองน้ำใต้ทราย อาจใส่ใยแก้วใต้แผ่นกรองก็ได้ เพื่อช่วยให้ระบบการกรองน้ำดีขึ้น และยังช่วยให้น้ำใสสะอาดอีกด้วยจากนั้นให้ต่อสายยางลมเข้ากับท่อดันน้ำตามจำนวนที่ต้องการ โดยจัดไว้มุมใดมุมหนึ่งของตู้ปลา
             3. การใส่หินและกรวด เมื่อล้างหินหรือกรวดสะอาดดีแล้ว ให้ใส่กรวดทับลงบนแผ่นกรอง ระวังอย่าให้เม็ดกรวดลอดรูลงไปในแผ่นกรอง เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลง การใส่กรวดควรให้พื้นที่กรวดหนาประมาณ 2-3 นิ้ว โดยไล่ระดับความสูงจากด้านหลังมาด้านหน้า ซึ่งช่วยให้มองดูคล้ายธรรมชาติ และเป็นที่รวมสิ่งปฏิกูล ง่ายต่อระบบการกรอง สำหรับการวางหินนั้น ควรจัดไปพร้อมกาบการใส่กรวดตามตำแหน่งที่กำหนดไว้
             4. การเติมน้ำ เติมน้ำลงไปในตู้ปลาด้วยวิธีดูดน้ำแบบกาลักน้ำ หรือใช้สายยางดูดน้ำเบา ๆ ส่งผ่านกระทบก้อนหิน หรือใช้วัสดุต่าง ๆ มารองรับเพื่อไม่ให้น้ำขุ่น และเม็ดกรวดทรายผิดตำแหน่ง เติมน้ำประมาณ 3 ใน 4 ของตู้ปลาก็พอ
             5.
การปลูกพันธุ์ไม้น้ำที่เตรียมไว้ ก่อนลงพันธุ์ไม้น้ำ ควรนำไม้กดพื้นกรวดให้เป็นร่องเล็ก ๆ เสียก่อนจึงปลูก การปลูกต้องปลูกให้พันธุ์ไม้น้ำทรงสูงอยู่ด้านหลัง ส่วนพันธุ์ไม้น้ำทรงเตี้ย จัดให้ลดหลั่นกันลงมาจนถึงหน้าตู้ปลาซึ่งตรงส่วนนี้ควรปล่อยให้โล่งเป็นลานกว้างเพื่อให้ปลาว่ายน้ำเล่นได้อย่างสบาย

             6. หลังจากจัดตู้ปลาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ปล่อยน้ำจนถึงระดับที่ต้องการแล้วต่อสายอากาศเข้าเครื่องปั๊ม จึงค่อยนำปลาไปปล่อย เลี้ยงตามความต้องการ

การเลือกปลาที่จะเลี้ยง

                  1. ขนาดของปลา เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาส่วนใหญ่ที่อยู่ในตู้ของผู้ขายเป็นปลาวัยรุ่นเมื่อนำมาเลี้ยงในตู้ปลาของเราเวลาปลาโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวถึง 5 นิ้วฟุต หรือบางชนิดเมื่อโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวเพียง 1-5 นิ้วฟุต ถ้านำปลามาเลี้ยงรวมกัน ปลาใหญ่ก็จะรักแกปลาเล็ก เพราะฉะนั้นเวลาซื้อปลาควรถามเจ้าของให้รู้แน่เสียก่อนว่าปลามีขนาดเท่าใดขณะโตเต็มที่และไม่ควรเลี้ยงปลาที่ขนาดต่างกันมาไว้ในตู้เดียวกัน ปลาที่อยู่ในตู้เดียวกันจะต้องเป็นปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อโตเต็มที่
     
           เมื่อได้เตรียมการขั้นตอนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว ก็ถึงตอนจัดหาปลาที่จะเลี้ยงมาลงตู้ปลา เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนค่อยๆ เลือกไปและต้องใจเย็นเพราะผลที่จะเกิดเป็นความเพลิดเพลินเจริญตาเจริญใจยิ่งนัก สำหรับนักเลี้ยงปลาตู้ เพราะถ้าขาดความรอบคอบไม่ระมัดระวังก็อาจจะได้ปลาที่อ่อนแอขี้โรค หรือบางที่ปลาอาจจะต้องเดินทางไกลกว่าจะถึงมือผู้เลี้ยง อาจทำให้เกิดความเครียดอ่อนเพลียและอาจกลายเป็นปลาขี้โรคได้เหมือนกันฉะนั้นการจัดหาปลามาเลี้ยงมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
   
                2. ประเภทของปลา ควรระวังในการซื้อปลา เพราะหากผู้เลี้ยงไม่มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของปลา อาจซื้อปลาที่ออกหากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันมันจะหมกซ่อนตัวอยู่ตามต้นพืชและลังก้อนหินตลอดเวลา แทนที่จะได้ชมเล่นในเวลากลางวันกลับไม่ได้เห็นปลาเลย
ประเภทของปลาตู้ 

          
ปลาที่เลี้ยงกันตามตู้เลี้ยงปลาทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. ปลาที่ชอบรวมกลุ่มกันอยู่ ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาเทวดา ปลาหางดาบ ปลาม้าลาย เป็นต้น เมื่อซื้อปลาประเภทนี้ จึงไม่ควรซื้อ 1-2 ตัว แต่ควรซื้อมาเลี้ยงอย่างน้อย 5-6 ตัว
2. ปลาที่ชอบอยู่ตามโขดหิน ได้แก่ ปลาจำพวกซิลลิค ส่วนมากจะเป็นปลาพื้นเมืองแอฟริกาชอบอยู่ตามโขดหินในน้ำที่มีน้ำกระด้างจึงไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงในตู้ปลาเท่าใด
3. ปลาที่ต้องแยกพวกเลี้ยง ปลาพวกนี้ต้องการตู้เลี้ยงพิเศษ เพราะส่วนมากไม่ชอบรวมกลุ่ม ได้แก่ ปลาปอมปาดัวร์ลายน้ำเงิน ปลาออสการ์ ปลาหางพิณ และปลาลายตลก เป็นต้น บางชนิดก็เป็นปลาที่ชอบเก็บตัวในเวลากลางวัน ถ้าจะเลี้ยงปลาประเภทนี้ต้องแยกพวกเลี้ยงในตู้ปลาต่างหาก อย่าเลี้ยงรวมกับปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
วิธีสังเกตปลาที่สมบูรณ์ดี 


          
           ปลาน้ำจืดส่วนใหญ่ถ้าสมบูรณ์ดีไม่มีโรค จะมีครีบหลังตั้งเสมอขณะว่ายน้ำ ถ้าปลาตัวใดว่างน้ำโดยมีครีบหลังตกแสดงว่าปลากำลังเป็นโรค และปลาที่สมบูรณ์ดีควรจะมีตัวอิ่มเต็ม ครีบหลังไม่แตก สีควรเข้ม ถ้าเป็นปลาที่มีลายสีหรือแต้มลายสี แต้มควรจะเด่น ไม่มีลายและแต้มที่พร่ามัว เวลาว่ายน้ำควรจะคล่องแคล่วปราดเปรียว นอกจากนี้ ควรจะสามารถลอยน้ำในน้ำลึกได้ทุกระดับโดยปราศจากอาการทะลึ่งขึ้นสู่พื้นน้ำ หรือจมดิ่งลงสู่กันอ่างในลักษณะที่ไม่ขยับตัว
                ปลาที่มีลักษณะบกพร่อง รวมทั้งปลาที่มีครีบหางขาด และมีจุดที่แสดงว่าเป็นแผล ไม่ใช้ปลาที่สมบูรณ์ดี
การเคลื่อนย้ายตัวปลาและปล่อยปลาลงตู้
                ตามปกติการเคลื่อนย้ายปลาจากที่ซื้อไปถึงบ้าน จะนิยมใส่ถุงพลาสติกและจะต้องทำโป่งบรรจุอากาศเหนือพื้นน้ำพอสมควร ถ้าซื้อปลาในฤดูหนาวกว่าที่ปลาจะถึงบ้านน้ำในถุงอาจจะเย็นลง ดังนั้นจึงควรนำกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มถุงไว้อีก เพื่อป้องกันมิให้อากาศเย็นภายนอกกระทบถุงพลาสติกและทำให้น้ำเย็นลงโดยเร็วได้ หรือถ้าจะให้ดีควรเอาถุงไว้ในกล่องกระดาษแข็งที่อากาศเข้าไม่ได้ ก็จะช่วยให้ปลาที่เราเคลื่อนย้ายไม่กระทบกระเทือนความเย็นได้
                เมื่อนำปลาที่ต้องการไปถึงบ้านแล้ว อย่ารีบปล่อยปลาลงตู้ทันที เพราะน้ำในถุงกับน้ำในตู้เลี้ยงปลาอาจมีอุณหภูมิต่างกัน ดังนั้น การปล่อยปลาลงตู้จะต้องแน่ใจว่าน้ำในถุงกับน้ำในตู้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน โดยการเอาถุงปลาลอยแช่น้ำไว้ในตู้ปลาสักครู่ เมื่ออุณหภูมิของน้ำได้ระดับเดียวกันแล้วจึงปล่อยปลาออกจากถุงพลาสติกได้
                ขณะปล่อยปลาลงตู้ปลา ให้ค่อย ๆ ทำด้วยอาการสงบที่สุด เพื่อมิให้ปลาตื่นและถ้าตู้ปลามีหลอดไฟฟ้าก็ควรจะปิดไฟเสียก่อน เหลือไว้เฉพาะแสงสว่างของธรรมชาติเท่านั้น เพื่อปลาจะได้คุ้นกับสภาวะแวดล้อมใหม่ได้ง่ายถ้าตู้ปลาสว่างมากเกินไปปลาอาจจะตกใจ และเมื่อปลาคุ้นกับสภาพแวดล้อมดีแล้วจึงค่อยเปิดไฟ
                การนำปลามาปล่อยในตู้ปลาขณะที่มีปลาอื่นอยู่แล้ว เราควรให้อาหารเพื่อล่อปลาที่อยู่ก่อนไม่ให้ไปสนใจกับปลาใหม่มากนัก ไม่เช่นนั้นปลาใหม่อาจจะตื่นและว่ายหนีไปหาที่ซุกซ่อนตัว ซึ่งเราจะต้องจัดที่กำบังหลบซ่อนไว้ให้ด้วย จนเมื่อปลาใหม่คุ้นกับสภาพแวดล้อมในตู้ปลาดีพอก็จะเริ่มออกมาหาอาหารเองได้
รูปลักษณะอวัยวะปลา

            ในการเลือกหาปลาเพื่อเลี้ยงนั้นควรจะมีความรู้ในรูปลักษณะของปลาพอสมควรซึ่งจะเป็นการช่วยให้การเลือกปลาได้ดียิ่งขึ้นปลาแต่ละชนิดไม่ได้มีรูปลักษณะเพรียวยาวเหมือนกันทุกตัว บางชนิดก็มีลำตัวป้อม สั้น บางชนิดตัวแบน บางชนิดตัวกลม ทั้งนี้ สุดแต่นิสัยความเป็นอยู่และการเลี้ยงชีพของปลาแต่ละชนิด ปลาที่มีลำตัวเพรียวยาว แสดงว่าปลาชนิดนั้นว่ายน้ำเร็ว ปลาพวกนี้จะมีครีบใหญ่ มีปากและฟันซี่โต เป็นปลาที่ชอบหากินในที่โล่ง ส่วนปลาเทวดามีลำตัวแบนรู้สี่เหลี่ยมว่ายน้ำได้อย่างเชื่องช้า ชอบอาศัยอยู่ตามกอหญ้าใต้น้ำ ลักษณะของปลามักจะบอกถึงระดับของน้ำที่ปลาอยู่โดยทั่ว ๆ ไป เช่น

ลักษณะของปลา
ปลาที่มีปากแบน
        แสดงว่าปลาชนิดนั้นอาศัยอยู่ใต้พื้นน้ำเพียงเล็กน้อยเพราะต้องลอยตัวคอยกินแมลงตามผิวน้ำ ปลาจำพวกนี้ตามปกติมีครีบหลังตรงพื้นครีบไม่โก่งงอ
    
ปลาที่มีปากยื่นตรง
         ตามทางนอนในแนวเดียวกันกับกึ่งกลางตัวจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในระดับน้ำกลาง ๆ เพราะปลาพวกนี้จะงับกินแต่อาหาร ที่ตกถึงพื้นเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่ามันอาจจะขึ้นกินอาหาร หรือดำลงกินที่ก้นน้ำได้ก็ดี
ปลาที่มีปากห้อย
        เป็นปลาที่ชอบอยู่กับก้นน้ำ เพาะกินอาหารตามพื้นผิวดินใต้น้ำเป็นหลัก ปลาจำพวกนี้ชอบกินตะไคร่น้ำตามพื้นดิน และที่อยู่ในตู้ปลา มันอาจไม่ลงถึงก้นตู้ แต่ชอบแอบตามข้างตู้เพื่อกินตะไคร่น้ำที่ติดตามข้างตู้กินเป็นอาหาร ปลาประเภทนี้มักมีหนวดด้วย เพราะหนวดจะไประโยชน์ในการเสาะหาอาหาร

เกล็ดปลา 
        เกล็ดปลามีทั้งชนิดแข็งและอ่อนซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายแก่ตัวปลาแล้ว ยังทำหน้าทั่วเป็นเครื่องรับแรงดันของอากาศด้วย เพราะฉะนั้นถ้าปลามีรอยถลอก หรือเป็นแผลก็แสดงว่าแรงดันของอากาศภายในผิดปกติปลาจึงเป็นโรค

ครีบ
           ปลาใช้ครีบเพื่อการทรงตัว และเคลื่อนไหวในบางกรณีก็จะใช้เป็นเครื่องช่วยในการออกไข่ด้วย ซึ่งอาจเป็นตอนผสมพันธุ์ หรือตอนฟักไข่เป็นตัว

สีสันของปลา 

           สีสันของปลานอกจากสร้างความสวยงามแล้ว ยังบอกลักษณะเฉพาะของชนิดโดยทั่วไป บอกเพศโดยเฉพาะ และเป็นสีที่อาจลวงตาศัตรูให้พร่าพราว ช่วยให้มันหนีได้โดยสะดวก หรืออาจทำให้ศัตรูเกิดสำคัญผิดในเป้าหมายที่จะโจมตีก็ได้ หรือสำคัญว่าเป็นสิ่งมีพิษก็ได้ นอกจากนี้ สีอาจบอกอารมณ์ของปลาในเวลาตกใจ หรือเวลาโกรธอีกด้วย
สีบอกเพศ

          ความเข้มของสีปลามักจะมีมากขึ้นในปลาตัวผู้ในระยะผสมพันธุ์ ทั้งนี้เพื่อให้สะดุดตาตัวเมียและล่อตัวเมียให้เข้าหา หรือเป็นสัญญาณให้ตัวเมียยอมคลอเคลียด้วย เราอาจรู้เพศของปลาที่ออกลูกเป็นตัวได้ โดยดูที่ครีบทวาร ซึ่งครีบตัวผู้จะมีรูปย้วยกว่าครีบตัวเมีย ส่วนปลาที่ออกลูกเป็นไข่ ตัวผู้จะมีตัวเรียวกว่า
อาหารปลา


          รารู้กันมาว่า ลูกน้ำ ไรน้ำ และแมลงบางชนิดเป็นอาหารของปลาทั่วไปแต่ปลาต่างชนิด ต่างก็ชอบอาหารผิดกันไป บางชนิดชอบกินลูกน้ำ บางชนิดชอบกินพืชพวกตะไคร่น้ำ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปลาชนิดไหนชอบกิจอาหารจำพวกไหน ปัจจุบันนี้ปัญหาการให้อาหารปลาไม่มีแล้ว เพราะได้มีการทำอาหารปลาขายกันในท้องตลาดอย่างกว้างขวางในรูปลักษณะต่าง ๆ กันไม่ว่าจะเป็นอาหารสำหรับปลาที่ชอบกินสัตว์หรือกินพืช ซึ่งอาหารสำเร็จรูปที่ทำกันขึ้นมาจำหน่ายนั้น จะเป็นรูปลักษณะที่เป็นเกล็ดบ้าง เป็นเม็ดบ้าง เป็นน้ำบ้าง เป็นผงบ้า ตลอดจนเป็นก้อนก็มี อาหารเหล่านี้ทำขึ้น เพื่อให้เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาทุกขนาดตั้งแต่ตัวอ่อน ซึ่งจำเป็นต้องกิจอาหารขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างสบาย แม้ว่าอาหารที่ผลิตออกจำหน่าย จะเป็นชนิดดีมีคุณค่า ควรแก่การเลี้ยงปลาก็ดี แต่การเลี้ยงปลาชนิดเดียว จำเจ ก็อาจทำให้ปลาเบื่ออาหารชนิดนั้น อันตรายที่สำคัญก็คือการให้อาหารเกินขนาด ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะทำให้ปลาอ้วนเหมือนคนที่กินจุ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การให้อาหารจำเจก็ดี การให้อาหารเกินขนาดก็ดี จะทำให้อาหารเหลือตกค้างแล้วทำให้น้ำเน่าเสีย 
               หลักสำคัญก็คือ การให้อาหารแต่พอกินโดยให้ทีละน้อย เพื่อให้ปลากินอาหารให้หมดทันทีอย่าให้เหลือ และควรให้อาหารปลาในตอนเช้า - กลางวัน - เย็น และกลางคืนตามลักษณะนิสัยของปลาแต่ละชนิด
การดูแลรักษา

 การดูแลรักษาตู้ปลา
        การเลี้ยงปลาตู้ เพื่อให้คงความสวยงามอยู่ตลอดไปนั้น ควรจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอุปกรณ์พันธุ์ไม้น้ำและส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีอยู่ภายในตู้ปลาเพื่อมิให้เกิดความสกปรก หลักสำคัญในการดูแลรักษาที่ถูกต้องมีดังนี้
         ควรหมั่นตรวจเช็คดูรอยรั่วซึม บริเวณรอยต่อกระจกไม่ว่าจะเป็นตู้ปลาแบบเก่า หรือแบบใหม่ เพราะมักพบว่ามีรอยรั่วซึมของน้ำอยู่เสมอ สาเหตุเกิดจากชันหรือกาวซิลิโคนเสื่อมคุณภาพ หรือบริเวณที่ติดตั้งตู้ปลาได้รับแสงแดดและความร้อนจัด หรือเกิดจากการกระทบกระแทกกับวัตถุอื่น ๆ จึงควรระมัดระวัง แต่ถ้าตู้ปลาเกิดการรั่วซึมต้องปล่อยน้ำทิ้งให้หมด เช็ดทำความสะอาดแล้วผึ่งลมให้แห้งสนิท จากนั้นก็นำมาซ่อมแซมโดยการใช้ชัน หรือกาวซิลิโคนทารอยรั่วให้เรียบร้อย ปล่อยทิ้งไว้นานพอประมาณ จนมั่นใจว่าติดสนิทดีแล้วจึงใส่น้ำลงตู้ปลา สังเกตรอยรั่วซึมของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่มีรอยรั่วซึมแล้วจึงเริ่มจัดตู้ปลาพร้อมปล่อยปลาลงได้
การดูแลรักษาเครื่องกรองน้ำ
         เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำไปได้ระยะหนึ่ง ประสิทธิภาพการกรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ ก็จะลดลง ไม่สามารถแยกสิ่งสกปรกภายในตู้ปลาได้ดีเท่าที่ควรอันเป็นเหตุให้สภาพของน้ำไม่สะอาดพอ จึงจำเป็นต้องคอยดูแลรักษาความสะอาดของตู้ปลา ให้ดีอยู่เสมอ ดังนี้
        - ควรใช้สายยางดูดเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ภายในตู้ปลาอยู่เสมอ
        - ควรเลี้ยงปลาจำพวก catfish หรือปลาเทศบาล ช่วยเก็บเศษอาหารอีกด้านหนึ่ง
        - ทำความสะอาดระบบกรองน้ำใต้ทราย เช่น แผ่นกรอง หลอดพ่นน้ำ และตรวจเช็คอุปกรณ์บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นกรองน้ำอยู่เสมอ
การดูแลรักษาโลหะที่สัมผัสกับน้ำ 
          โลหะที่ติดมากับตู้ปลาทุกส่วนที่สัมผัสกับน้ำภายในตู้ปลานั้น บางชนิดก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต เช่น โลหะจำพวกทองเหลืองชุบโครเมียม ตะกั่ว ดีบุก และเหล็ก ถ้าจะให้ดีควรเลือกใช้โลหะประกอบตู้ปลาที่หุ้มพลาสติกจะปลอดภัยที่สุด หากพื้นที่ตู้ปลาเป็นแผ่นเหล็ก ผู้จัดตู้ปลาควรใช้กระจกปูทับก่อนแล้วใช้ชัน หรือกาวซิลิโคนอุดยาตามซอกมุมต่าง ๆ ให้แน่นมิให้น้ำรั่วซึมลงไปได้ จะช่วยให้ปลอดภัยแก่สิ่งมีชีวิตดียิ่งขึ้นและง่ายต่อการทำความสะอาด
การดูแลรักษาพันธุ์ไม้น้ำที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ

                1. แสง
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะพันธุ์ไม้น้ำมาก เพราะแสงเป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อแสงสว่างผ่านน้ำลงไป แสงจะเกิดการหักเห พืชใต้น้ำจะได้รับแสงสว่างผิดจากความเป็นจริง พืชที่อยู่ในน้ำระดับต่าง ๆ ก็จะได้รับปริมาณแสงสว่างที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นการจัดตู้ปลา จึงควรคำนึงถึงทิศทางและความต้องการแสงของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดด้วย
                2. อุณหภูมิภายในตู้ปลา จะมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ไม่มากนักและค่อนข้างคงที่ ดังนั้นพันธุ์ไม้น้ำจึงไม่ค่อยมีผลกระทบมากนัก
                3. แก๊ส ปริมาณแก๊สที่สำคัญที่สุดกับพันธุ์ไม้น้ำ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (co2) ซึ่งพืชทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ในการสังเคราะห์แสง ในขณะเดียวกันพันธุ์ไม้น้ำก็คายออกซิเจน (O2) ออกมา ถ้าภายในตู้ปลามีทั้งพันธุ์ไม้น้ำ และสัตว์อยู่ด้วยกัน อัตราการคายออกซิเจนของพันธุ์ไม้น้ำ พอเหมาะกับอุตราการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของสัตว์ สภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาก็จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่รวมกันได้อย่างสมดุล
                4. ความหนาแน่น หลังจากการตกแต่งพันธุ์ไม้น้ำเรียบร้อยแล้วเมื่อปลาได้รับอาหาร และแสงสว่างที่พอเหมาะ ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความหนาแน่น ซึ่งสภาพอย่างนี้ อาจก่อให้เกิดการเสียความสมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันจำเป็นที่จะต้องตัดแต่ง หรือเคลือบย้ายพันธุ์ไม้น้ำที่เสียรูปทรง หรือหนาแน่นเกินไปออกจากตู้ปลา นำไปเพาะเลี้ยงบำรุงดูแลในที่แห่งใหม่ต่อไป
การเปลี่ยนน้ำ

          การเปลี่ยนน้ำมีความจำเป็น เพราะน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาและพันธุ์ไม้น้ำ แร่ธาตุบางชนิดจะถูกนำไปใช้ หรือแลกเปลี่ยนไปบ้าง โดยปลาหรือพันธุ์ไม้น้ำหรือของเสียที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงควรมีการตรวจเช็คเพื่อปรับสภาพน้ำตามสมควรโดยการเปลี่ยนน้ำทุก ๆ 1-2 เดือน หรืออาจเปลี่ยนน้ำเมื่อปรากฏว่า ในตู้ปลามีตะไคร่น้ำหรือน้ำขุ่น
ข้อควรระวัง 

          การเปลี่ยนน้ำจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวกับค่าความด่างของน้ำในตู้ปลากับน้ำใหม่ที่เติมลงไป ว่ามีความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิ และปริมาณสารบางตัวแตกต่างกันมากเกินไปหรือไม่ ถ้าเป็นน้ำประปาควรปรับความแตกต่างของสารคลอรีนให้ใกล้เคียงกันก่อนที่จะเติมลงในตู้ปลา และอีกประการหนึ่ง ที่เก็บน้ำถ้าปิดด้วยภาชนะนาน ๆ ในกลางแจ้ง ออกซิเจนในน้ำอาจมีน้อยหรือไม่มีเลย เมื่อนำไปเลี้ยงปลาโดยไม่มีพันธุ์ไม้น้ำตกแต่งอยู่ด้วยปลาที่เลี้ยงไว้อาจตายได้ การตลาด
          ปลาตู้ที่เลี้ยงส่วนมากมักจะเป็นปลาสวยงาม ในปัจจุบันมีปลาสวยงามจำนวนมากที่มีผู้ซื้อขายกันอยู่ในท้องตลาด ตลาดที่ขายปลาสวยงามจะแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ
ตลาดในประเทศ
                1. ตลาดแหล่งผลิต ได้แก่ แหล่งที่ทำการเลี้ยงปลาขาย จะมีอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ทั่ว ๆ ไป ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดต่าง ๆ ปลาที่เลี้ยงอาจมีเพียงชนิดเดียวหรือหลาย ๆ ชนิดก็ได้ เช่น เลี้ยงปลาเงินปลาทอง ปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลาปอมปาดัว ปลาออสการ์ ฯลฯ ปลาที่ขายตามแปล่งที่ผลิตนี้ จะขายเป็นแบบขายส่ง คือ มีผู้ขายปลีกมาขอซื้อทีละมาก ๆ เพื่อนำเอาไปขายปลีก เช่น ขายส่งตัวละ 10 บาท นำไปขายปลีกอาจจะอยู่ในระหว่าง 20-25 บาท ทั้งนี้เพราะพ่อค้าขายปลีกจะคิดค่าของความเสี่ยงมาก อาทิ ปลาตาย ตลาดขาย การขนส่ง ทุนจม ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ อีกมาก แต่ผู้ขายปลีกก็ได้ประโยชน์ คือ ไม่ต้องเสียเวลา สถานที่ และทุนจมอยู่กับการเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การเพาะ การเลี้ยงดู ตั้งแต่ตัวเล็ก จนโตออกขายได้
                2. ตลาดขายปลีก เป็นตลาดที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปทั้งในตัวอำเภอ จังหวัด และส่วนกลาง ในกรุงเทพมหานคร
ตลาดตามอำเภอ หรือตำบล จะมีผู้นำเอาออกขายตามหน้าร้าน หรือตั้งเป็นร้านค้าปลาสวยงาม และอุปกรณ์การเลี้ยงโดยเฉพาะ หรือตามตลาดสดประจำอำเภอต่าง ๆ ก็มีขาย
          ตลาดจังหวัดต่าง ๆ จะเป็นแหล่งที่มีความหนาแน่น และความเจริญของจังหวัดนั้น ๆ ตามแหล่งที่กล่าวมานี้จะมีร้านขายโดยเฉพาะบ้างตามตลาดสดและตลาดขายของอื่น ๆ ตลาดกลาง มักจะเป็นตลาดใหญ่ ๆ ที่รองรับผู้ค้าจากจังหวัดต่าง ๆ นำเอาปลาสวยงามไปส่งขาย หรือไปตั้งขาย จะมีปลาสวยงามมากมายหลายชนิด เช่น ตลาดสวนจตุจักร
                3. ตลาดต่างประเทศ ปลาสวยงามที่ผลิตออกจำหน่ายของประเทศไทยจะมีจำหน่าย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ปลากัด ปลากัดจีน และปลาสวยงามอื่น ๆ ก็มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย ประเทศที่ไทยส่งปลายสวยงามออกไปขาย ได้แก่ ญี่ปุ่น และประเทศทางยุโรป

โรคปลาสวยงาม
        โรคที่เกิดขึ้นเสมอๆ กับปลาสวยงามที่เลี้ยงในน้ำจืดนั้น สามารถแบ่งออกตามกลุ่มของเชื้อโรคได้ 5 กลุ่มด้วยกัน คือ
1.โรคโปรโตซัว
  
       ลักษณะอาการ  ปลาที่ป่วยมีลักษณะครีบเปื่อย หรือกางออกไม่เต็มที่ ผิวตัวซีด และมีลักษณะคล้ายผิวถลอก หรือตกเลือดเป็นแห่งๆ การว่ายน้ำของปลาผิดปกติ โดยว่ายน้ำแฉลบเอาข้างตัวถูกับพื้นก้นตู้ พื้นอ่างหรือก้อนหินในตู้ปลา บางครั้งปลาอาจจะมีจุดขาวตามลำตัวและครีบ
        สาเหตุของโรค  เกิดจากเชื้อโปรโตซัวจำพวกเห็บระฆัง(Trichodina) เชื้ออิ๊ก (Ichthyophthirius) เชื้อไซพริเดีย(Scyphidia)  เชื้อเอพีโอโซมา (Apiosoma)
           การรักษา ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนแช่ปลาในตู้อัตรา 25-30 พีพีเอ็ม (2.5-3.0  ซีซี /น้ำ 100 ลิตร) แช่ไว้นาน 2-3 วัน เพียงครั้งเดียว แต่ถ้าปลาป่วยเป็นโรคจุดขาว(โรคอิ๊ก) จะต้องใส่น้ำยาฟอร์มาลีนซ้ำอีก 2-3 ครั้ง หลังจากการเปลี่ยนน้ำในอัตราความเข้มข้นเท่าเดิม โดยทำห่างกันครั้งละ 2-3 วัน
2. โรคปลิงใส


        ลักษณะอาการ ปลาที่ติดปรสิตปลิงใสจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร และมีการว่ายน้ำแฉลบเอาข้างตัวถูกับพื้นตู้เป็นครั้งคราว ครีบของปลาโดยทั่วไปยังมีลักษณะปกติ
        ลักษณะของโรค เกิดจากปรสิตปลิงใส  (Monogene)
        การรักษา ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนแช่ปลาในตู้ในอัตรา 40-45 พีพีเอ็ม (4.0-4.5 ซีซี / น้ำ 100  ลิตร) แช่ไว้นาน 2-3 วัน ถ้าเป็นปลาขนาดเล็กให้ดูแลปลาอย่างใกล้ชิดใน 1-2 ชั่วโมงแรกหลังใส่สารเคมี เพราะปลาที่เล็กมากอาจจะทนต่อพิษของฟอร์มาลีนไม่ไหว ถ้าพบลูกปลามีอาการเมายาให้รีบเปลี่ยนน้ำครึ่งหนึ่งทันที
3. โรคเห็บปลาและหนอนสมอ
   ลักษณะอาการ ปลาที่มีปรสิตเกาะว่ายน้ำแบบชักกระตุก มีอาการสะดุ้ง ว่ายน้ำกระโดด ถูตัวกับข้างตู้หรือก้อนหิน ปลาที่ป่วยเรื้อรังจะมีแผลตกเลือกเป็นจ้ำตามลำตัว แผลอาจจะขยายใหญ่มากเช่นที่พบในปลาคาร์พ
          สาเหตุของโรค เกิดจากปรสิตเห็บปลา (Argulus)  และหนอนสมอ (Lerneae) ซึ่งเป็นปรสิตเปลือกแข็งขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ประมาณ 0.3-0.5 ซม.)
          การรักษา ใช้สารเคมีดิพเทอเร็กซ์หรือซินเทอเร็กซ์ (เป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มออการ์โนฟอสเฟต)ในอัตรา 0.25 พีพีเอ็ม(0.025 กรัมต่อน้ำในตู้ 100 ลิตร) ปลาในตู้หรือในบ่อนาน 7 วัน และต้องแช่สารเคมีซ้ำอีก 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน รวมระยะเวลาในการรักษาประมาณ 1 เดือน
4. โรคแบคทีเรีย
 

    ลักษณะอาการ ปลาที่ป่วยจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการรวมกันคือ มีแผลตกเลือดตามลำตัว ครีบบริเวณท้อง และช่องขับถ่าย ตาของปลาอาจจะมีอาการบวมและตกเลือด ท้องและลำตัวปลามีอาการบอบช้ำและมักจะพบอาการเกล็ดตั้ง หรือตัวด่าง
    สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อแอร์โรโทแนส ซูโดโมแนส และคอรัมนาริส
    การรักษา ใช้แช่ปลาที่เป็นโรคด้วยยาปฏิชีวนะ ในอัตรา 10-20 พีพีเอ็ม (1-2 กรัม / น้ำ 100 ลิตร) แช่นนาน 2 วัน แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่และแช่ยาซ้ำอีก 3-4 ครั้ง สำหรับปลาที่มีอาการตัวด่าง รักษาโดยการแช่ปลาด้วยด่างทับทิม 1-5 พีพีเอ็ม (1-5 กรัม / น้ำ 1,000  ลิตร) หรือเกลือ 0.5% (5 กก. / น้ำ 1,000 ลิตร) นาน 3 วัน และควรแช่ซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
5. โรคเชื้อรา

 
           ลักษณะอาการ ปลาที่ป่วยจากเชื้อราจะมีอาการอ่อนแอการเคลื่อนไหวลดลง และบริเวณที่ติดเชื้อจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุมมองเห็นได้ชัดเจน
           สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อราหลายสกุลด้วยกัน เช่น Aphanomyces  และ  Achlya เป็นต้น และมักจะเกิดกับปลาที่บอบช้ำหรือมีแผล
          การรักษา ให้แช่ปลาป่วยด้วยสารเคมีมาลาไคท์กรีนในอัตรา 0.1 พีพีเอ็ม หรือ 0.1 กรัมต่อน้ำในตู้ 1,000 ลิตร แช่นาน 3 วัน ต่อการรักษา 1 ครั้ง ถ้าปลายังไม่หายป่วยให้รักษาซ้ำอีกครั้ง (มาลาไคท์กรียนเป็นสารอันตรายเวลาใช้ต้องระมัดระวังอย่าให้สัมผัสร่างกายผู้ใช้)
     1.  เลือกซื้อปลาที่มีสุขภาพดี ลักษณะของครีบดูปกติ
      2.  การขนส่งปลาต้องทำด้วยความระมัดระวัง ควรใส่เกลือประมาณ 0.1-0.3% ในถุงที่ขนส่งปลา หรือ 1-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร
     3.  เมื่อพบว่าปลามีอาการว่ายน้ำแฉลบหรือมีอาการคัน ให้ใส่น้ำยาฟอร์มาลิน 2.5 ซีซี / น้ำ 1,000  ลิตร นาน 3 วัน
     4.  ควรทำการเปลี่ยนน้ำในตู้ประมาณ 25% ทุกสัปดาห์ และล้างระบบกรองน้ำเป็นประจำ